เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phytophthora palmivoar Butler
เชื้อราสาเหตุเข้าทำลายระบบรากแล้วลุกลามเข้าสู่ท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เซลล์ของท่อน้ำ ท่ออาหารเสียหาย พืชส่งน้ำและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่ได้ ส่งผลทำให้ใบด้านสลดไม่เป็นมันและแสดงอาการเหี่ยว เหลือง ต้นโทรม หรือยืนต้นตาย ลักษณะอาการที่โคนต้นและกิ่ง ผิวเปลือกมีน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากรอยแลแตก เนื้อเยื่อเปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข็ม จะพบการระบาดรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน ต้นทุเรียนที่เป็นโรครากเน่า โคนเน่า จะเหี่ยวตายอย่างรวดเร็วในลักษณะยืนต้นตาย
การป้องกันกำจัด
- ระบายน้ำในสวน อย่าให้มีการท่วมขังโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
- บำรุงต้นทุเรียนให้แข็งแรงสมบูรณ์ ตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
- ปรับสภาพดินให้มีความเป็น กรด-ด่าง ประมาณ 5.5 – 6.5 ด้วย เปอร์ก้า อัตราใช้ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เนื่องจากในสภาพที่ดินเป็นกรดจัดจะทำให้พืชอ่อนแอ ส่งผลให้เชื้อราสาเหตุที่มีอยู่ทั่วไปในดินเข้าทำลายได้ง่าย
- ลดปริมาณเชื้อราสาเหตุในดินด้วย เทอร์ราโซล อัตราใช้ 100 ซีซี.ต่อน้ำ 10-20 ลิตรต่อต้น ผสมน้ำราดดินภายในทรงพุ่มให้ทั่วทุกต้น โดยเฉพาะต้นที่ยังไม่ปรากฎอาการให้เห็นทางใบ
- หากพบแผลบนลำต้นให้ถากเปลือกแผลที่เป็นโรคออกแล้วทาบาดแผลด้วย นอร์ด็อกซ์ ซุปเปอร์ อัตราการใช้ 100 กรัม ร่วมกับ เทอร์ราโซล อัตราการใช้ 100 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตรให้ทั่ว
หมายเหตุ : สามารถผสม โอโซพรีน ร่วมกับการทาบาดแผลเพื่อป้องกันมอดเจาะลำต้น