ไฟท๊อปเทอร่า โรคร้ายในทุเรียนที่ป้องกันได้
ทุเรียน เป็นพืชที่ละเอียดอ่อนและต้องการความดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือแมลงและโรค โดยเฉพาะ ไฟท๊อปเทอร่า (เชื้อสาเหตุ: Phytophteora palmivora Butler) ที่สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก เชื้อราสามารถอาศัยอยู่ในดินได้นาน ในช่วงเวลาที่ฝนตกชุกติดต่อกันหลายวันต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อไฟท๊อปจะเคลื่อนที่ไปกับน้ำ เข้าทำลายระบบรากแล้วลุกลามเข้าสู่ท่อน้ำท่ออาหาร ทำให้เซลล์ตรงนั้นเสียหาย ผิวเปลือกจะแตกเป็นร่องและมีน้ำยางสีแดงไหลออกมา และเนื้อเยื่อเปลือกที่ถูกทำลายจะมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงน้ำตาลเข้ม โดยกลางแผลจะมีสีเข้มกว่าขอบแผล ทุเรียนที่เป็นรากเน่า-โคนเน่า จะเหี่ยวตาย ใบเหลืองร่วงทั้งต้น และยืนต้นตายในที่สุด
อาการไฟท๊อปเทอร่าที่ต้นทุเรียน
ไฟท๊อปเทอร่าสามารถเข้าทำลายใบทุเรียนได้ด้วย โดยอาการบนใบจะเห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ เริ่มจากเล็กๆและจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ โดยเริ่มจากเส้นกลางใบ เพราะเป็นท่อน้ำท่ออาหาร นอกจากนี้สปอร์ของไฟท๊อปเทอร่า ยังสามารถปลิวไปตามลม ไปติดที่ดอกและผล ทำให้เกิดเป็นโรคดอกเน่า และผลเน่าได้ด้วย โดยอาการที่แสดงออกคือ กลีบดอกมีรอยแผลช้ำ ต่อมาจะกลายเป็นสีดำ และหลุดร่วง ถ้าเป็นที่ผล เปลือกจะนิ่มและยุบตัวลง รอยแผลเป็นสีดำช้ำ
อาการของไฟท๊อปเทอร่าที่ ใบ ดอก และผล
ขอแนะนำ คู่หูพิชิตไฟท๊อปเทอร่า
ทาบ็อก สารอีทาบอกแซม ที่ช่วยรักษาและหยุดเชื้อไฟท๊อปไม่ให้ลามไปส่วนอื่น
แนะนำให้ใช้ร่วมกับ เจอราจ จะช่วยรักษาและกำจัดเชื้อแอนแทรคโนส ที่เข้าทำลายซ้ำหลังจากเกิดไฟท๊อปได้
อัตราการใช้แนะนำ
ทาบ็อก 300-500 ซีซี. + เจอราจ 200 ซีซี. ต่อน้ำ 200 ลิตร
…………………………………………………………………………………………………………………….
#ผู้เชี่ยวชาญไม้ผลขั้นเทพ #เทพวัฒนาตราปลาคู่ #ไฟท๊อปเทอร่า #แอนแทรคโนส
#ทาบ็อก #เจอราจ #ดอกทุเรียนเน่า #ผลทุเรียนเน่า #ดอกร่วง